ติตดั้งระบบ ระบายอากาศโรงงานVentilation System

บริการออกแบบ และติดตั้งระบบ ระบายอากาศโรงงานVentilation System

การระบายอากาศในงานอุตสาหกรรม (Ventilation System ) คือการนำอากาศบริสุทธิ์ภายนอกเข้ามาในสถานที่ทำงาน (โรงงาน หรือโรงงานผลิต) ระบบระบายอากาศ (Ventilation System) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีปัญหาเรื่องของสุขภาพในระยะยาว แถมยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงของการระเบิด เพราะการระบายอากาศจะลดละอองของสารเคมีที่สะสมอยู่ในโรงงาน และโรงงานที่มีโอกาสเกิดมลพิษหรือฝุ่นสูง จะต้องมีระบบที่ช่วยกรองอากาศให้สะอาดก่อน ถึงจะสามารถปล่อยออกสู่ด้านนอก เพื่อป้องกันไม่ให้ธรรมชาติหรือคนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงได้รับผลกระทบ

ทำไมถึงต้องมี ระบบระบายอากาศในโรงงาน

การมี ระบบระบายอากาศในโรงงาน เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ เพราะระบบนี้มีบทบาทสำคัญต่อ ดังนี้

  1. เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน ในโรงงานมักจะมีการปล่อย ฝุ่น ควัน สารเคมี หรือ ไอระเหยที่เป็นอันตราย จากกระบวนการผลิต ซึ่งหากไม่มีการระบายอากาศที่ดี จะทำให้เกิดการสะสมของสารพิษในอากาศ ส่งผลให้พนักงานหายใจลำบาก, เกิดอาการเวียนหัว คลื่นไส้, เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจในระยะยาว และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุจากการหมดสติหรือสูดดมสารพิษเกินขนาด
  2. ควบคุมอุณหภูมิภายในโรงงาน เครื่องจักรที่ทำงานต่อเนื่องตลอดวันจะปล่อยความร้อนจำนวนมาก หากไม่มีระบบระบายอากาศ จะทำให้อุณหภูมิภายในโรงงานสูงเกินไป ซึ่งอาจทำให้ความเครียดจากความร้อน ,ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง, เครื่องจักรทำงานผิดพลาด หรือเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
  3. ลดความชื้นและกลิ่นไม่พึงประสงค์ ในบางกระบวนการผลิต เช่น การใช้สารเคมีหรือวัตถุดิบที่มีกลิ่นแรง อาจทำให้เกิดกลิ่นเหม็น หรือความชื้นสะสม ระบบระบายอากาศช่วย ลดกลิ่นรบกวน  ป้องกันการเกิดเชื้อรา สนิม หรือการกัดกร่อนของอุปกรณ์ และรักษาสภาพแวดล้อมในโรงงานให้น่าอยู่
  4. ป้องกันการระเบิดหรือไฟไหม้จากก๊าซไวไฟ โรงงานบางแห่งมีการใช้หรือผลิต ก๊าซที่ไวไฟหรือระเบิดได้ เช่น ไอระเหยของสารเคมีบางชนิด หากไม่มีการระบายอากาศที่เหมาะสม จะทำให้ก๊าซสะสมในปริมาณที่อันตราย และอาจเกิดประกายไฟหรือการระเบิดได้
  5. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม สภาพอากาศที่ดีช่วยให้พนักงานทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ลดการขาดงานจากปัญหาสุขภาพ และยังช่วยยืดอายุของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ  ในโรงงาน 
  6. เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม การติดตั้งระบบระบายอากาศที่ได้มาตรฐานเป็นหนึ่งในข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือกฎหมายแรงงาน หากไม่มี อาจถูกสั่งให้แก้ไข หรือเสียค่าปรับ

ระบบระบายอากาศในโรงงานที่พบได้บ่อยที่สุด 

ภายในระบบระบายอากาศในโรงงานจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ส่วน เนื่องจากแต่ละพื้นที่ก็มีความจำเป็นที่จำต้องใช้ระบบระบายอากาศที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในโรงงานส่วนมากแล้วจะมีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

  • การระบายอากาศแบบทําให้เจือจาง Dilution Ventilation

เป็นการระบายอากาศเพื่อลดความเข้มข้นของมลพิษซึ่งปนเปื้อนอยูในอากาศในสถานที่ประกอบการ โดยการทําให้เจือจางลงด้วยอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกจนกระทังมลพิษดังกล่าวมีความเข้มข้นอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ เช่น กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ นอกจากอันตรายต่อสุขภาพเนื่องจากมลพิษทางอากาศแล้ว การระบายอากาศแบบนี้ยัง ใช้ได้ดีในการป้องกนและควบคุมปัญหาเกี่ยวกับความร้อน ความชื้น และอันตรายจากการระเบิดเนื่องจากสารเคมีบางประเภทอีกด้วย

  • การระบายอากาศแบบเฉพาะที่ Local Exhaust Ventilation

เป็นการระบายอากาศเพื่อที่จะป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและควบคุมปัญหาเดือดร้อนรำคาญภายในสถานประกอบการเช่นเดียวกับการระบายอากาสแบบทำให้เจือจาง แต่มีหลักการและวิธีการแตกต่างออกไป โดยการระบายอากาศแบบเฉพาะที่อาศัยหลักการดูดระบายมลพิษพร้อมทั้งอากาศถูกปนเปื้อนออกจากบริเวณที่เป็นจุดกำเนิดโดยตรงก่อนที่มลพิษจะเข้าปนเปื้อนกับอากาศส่วนใหญ่ของพื้นที่  

การเลือกระบบระบายอากาศภายในโรงงานที่เหมาะสม

การเลือกระบบระบายอากาศภายในโรงงานที่เหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัย สุขภาพของพนักงาน และประสิทธิภาพการผลิต ในการพิจารณาเลือกระบบระบายอากาศที่เหมาะสม ควรคำนึงถึงปัจจัยหลักดังต่อไปนี้

  1. ประเภทของกิจกรรมในโรงงาน แต่ละอุตสาหกรรมมีลักษณะงานที่แตกต่างกัน เช่น โรงงานเคมี หรือโรงงานที่ใช้สารเคมีระเหย อาจต้องใช้ระบบดูดอากาศเฉพาะจุด (Local Exhaust Ventilation) โรงงานอาหาร อาจต้องใช้ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นอย่างเข้มงวด โรงงานที่มีการตัด เจียร หรือเชื่อมโลหะ ต้องมีการควบคุมฝุ่นละอองและควันโดยตรง
  2. ขนาดพื้นที่ภายในโรงงาน พื้นที่โรงงานขนาดใหญ่จะต้องใช้ระบบที่สามารถหมุนเวียนอากาศได้ทั่วถึง เช่น ระบบพัดลมฟาร์มหรือระบบท่อดักส์ขนาดใหญ่ ขณะที่พื้นที่ขนาดเล็กอาจใช้ระบบพัดลมระบายอากาศธรรมดาก็เพียงพอ
  3. แหล่งกำเนิดความร้อน/มลพิษ ต้องพิจารณาว่าในโรงงานมีแหล่งกำเนิดมลพิษ เช่น ความร้อนสูง, ควัน, ไอระเหยของสารเคมี และ ฝุ่น เพื่อออกแบบการระบายที่ตรงจุด เช่น ใช้พัดลมดูดฝุ่น หรือระบบกรองอากาศร่วมด้วย
  4. การถ่ายเทอากาศตามทิศทางลม การออกแบบทิศทางลมเข้า-ออกที่เหมาะสมสามารถช่วยลดต้นทุนพลังงาน โดยการใช้ลมธรรมชาติช่วยหมุนเวียนอากาศ (Natural Ventilation) ร่วมกับระบบกลไก เช่น พัดลมดูดอากาศ
  5. อุณหภูมิและความชื้นภายในโรงงาน ระบบระบายอากาศต้องช่วยรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้พนักงานทำงานลำบาก และเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้า
  6. ประหยัดพลังงาน เลือกใช้ระบบที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ใช้พลังงานต่ำ เช่น พัดลมแรงดันต่ำขนาดใหญ่ หรือการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เสริมในการระบายอากาศ เพื่อช่วยลดต้นทุนในระยะยาว
  7. มาตรฐานความปลอดภัยและกฎหมาย ควรเลือกระบบที่ผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรม และเป็นไปตามกฎหมายแรงงานและสิ่งแวดล้อม เช่น ต้องไม่มีเสียงดังเกินเกณฑ์, ไม่มีการปล่อยอากาศเสียกลับสู่ภายใน, ต้องมีระบบป้องกันการระเบิดในพื้นที่เสี่ยง
  8. การบำรุงรักษาและต้นทุนการดูแล ควรเลือกระบบที่ดูแลรักษาง่าย หาชิ้นส่วนอะไหล่ได้สะดวก และมีผู้ให้บริการหลังการขายที่เชื่อถือได้
  9. ความยืดหยุ่นในการใช้งาน หากโรงงานมีการเปลี่ยนแปลงสายการผลิตบ่อย ควรเลือกระบบที่สามารถเคลื่อนย้าย หรือปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้ง่าย เช่น พัดลมอุตสาหกรรมแบบตั้งพื้น หรือระบบโมดูลาร์
  10. เสียงรบกวน ระบบระบายอากาศไม่ควรสร้างเสียงดังเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสมาธิและสุขภาพของพนักงาน โดยเฉพาะหากต้องทำงานใกล้กับแหล่งระบายอากาศ

ระบบระบายอากาศในโรงงาน นั้นเป็นเรื่องที่ควรได้รับการตัดสินวางแผน และให้ความสำคัญ การเลือกว่าควรออบแบบอย่างไรให้เหมาะสมนั้นควรประเมินจาก ลักษณะงาน ขนาดพื้นที่ แหล่งมลพิษ สภาพอากาศภายใน และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ระบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ปลอดภัย และคุ้มค่าในการลงทุนระยะยาว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *